Wednesday, November 29, 2017

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ:National Olympic Committee;NOC





คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (อังกฤษNational Olympic Committeeอักษรย่อ: NOC) เป็นองค์กรผู้มีอำนาจระดับประเทศ ในกระบวนการโอลิมปิกระดับนานาชาติ ภายใต้การควบคุมโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล

นอกจากนั้น คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหลาย ยังมีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาการของนักกีฬา และการฝึกอบรมผู้ฝึกสอน ตลอดจนเป็นเจ้าหน้าที่การกีฬาระดับชาติภายในภูมิภาคของตน
ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ซึ่งผู้แทนของทั้งประเทศเอกราช และดินแดนปกครองพิเศษต่างๆ รวมทั้งหมด 206 ชุด โดยในบรรดาสมาชิกสหประชาชาติ 193 ประเทศ มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหมด 197 ประเทศ[ รวมทั้งดินแดนอื่นอีก 9 แห่งดังต่อไปนี้
อนึ่ง คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหลาย ล้วนเป็นสมาชิกของ สมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (Association of National Olympic Committees; ANOC) และยังแบ่งออกเป็นสมาคมระดับทวีปอีก 5 แห่งด้วย
ทวีปสมาคมจำนวนเอ็นโอซีเอ็นโอซีแรกสุด (พ.ศ.)เอ็นโอซีล่าสุด (พ.ศ.)
สมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติแอฟริกา54 อียิปต์ (2453) เซาท์ซูดาน (2558)
องค์การกีฬาแพนอเมริกัน41 สหรัฐ (2437) ดอมินีกา (2536)
 เซนต์คิตส์และเนวิส (2536)
 เซนต์ลูเชีย (2536)
สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย44[3] ญี่ปุ่น (2455) ติมอร์-เลสเต (2546)
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งยุโรป50 ฝรั่งเศส (2437) คอซอวอ (2557)
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติโอเชียเนีย17 ออสเตรเลีย (2438) ตูวาลู (2550)

    รายชื่อคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เรียงลำดับตามปีพุทธศักราชที่ไอโอซีให้การรับรอง

    ต่อไปนี้เป็นรายชื่อตามลำดับเวลา ของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจาก 204 ประเทศ ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้การรับรอง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) คณะกรรมการของหลายประเทศในจำนวนนี้ ก่อตั้งขึ้นมาแล้วหลายปีก่อนจะให้การรับรอง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งมีการรับรองโดยทันทีเมื่อก่อตั้งขึ้น สำหรับคณะกรรมการโอลิมปิกของรัฐในอดีตซึ่งทุกวันนี้ไม่มีอยู่ จะแสดงด้วยตัวเอน

    คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่ไม่ได้การรับรอง

    คณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาแห่งมาเก๊า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) และมีความพยายามที่จะลงทะเบียนกับไอโอซีมาโดยตลอด แต่ยังคงไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันในโอลิมปิก ภายใต้ชื่อ มาเก๊า มาเก๊าของจีน อย่างไรก็ตาม ยังได้เข้าแข่งขันในกีฬาพาราลิมปิก เช่นเดียวกับ หมู่เกาะแฟโร หมู่เกาะแฟโร ที่มีการรับรองคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติ
    ประเทศอื่นๆ ที่คณะกรรมการโอลิมปิกยังไม่ให้การรับรอง ประกอบด้วย แคว้นกาตาลุญญา คาตาโลเนียยิบรอลตาร์ ยิบรอลตาเฟรนช์พอลินีเชีย เฟรนช์โปลินีเซีย นีวเว นีอูเอ โซมาลีแลนด์ โซมาลิแลนด์ นิวแคลิโดเนีย นิวแคลิโดเนีย เคอร์ดิสถานของอิรัก เคอร์ดิสถาน นอร์เทิร์นไซปรัส ไซปรัสเหนือ อับฮาเซีย อับคาเซีย Olympic flag.svg ชาวอเมริกันพื้นเมือง หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา แองกวิลลา แองกวิลลา มอนต์เซอร์รัต มอนต์เซอร์รัต และ หมู่เกาะเติกส์และเคคอส หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส

      No comments:

      Post a Comment